เครื่องดีด

เครื่องดีด เป็นเครื่องสายที่มีกะโหลกเสียง และใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีดสายให้สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงเช่น พิณ กระจับปี่ จะเข้ ซึง เป็นต้น ตามประวัติกล่าวว่า เครื่องมือประเภทนี้มีกำเนิดจากประเทศทางตะวันออกคือบรรดาประเทศในทวีปเอเซีย แล้วประเทศทางตะวันตก คือ บรรดาประเทศในทวีปยุโรปจึงได้นำไปดัดแปลง สร้างเครื่องดนตรีในประเภทเดียวกันเป็นของตน ในภาษาบาลีและสันสกฤตเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า พิณ สำหรับของไทยมีปรากฎชื่อนี้ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยกรุงสุโขทัย

1.1 จะเข้
สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็น รูปร่างเหมือน จระเข้ ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคงเล่นอย่างบรรเลงเดี่ยว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำจะเข้เข้ามาผสมแทนกระจับปี่ เพราะเสียงดีกว่าและดีดได้สะดวกกว่า จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วย
ไม้ท่อนขุดเป็นโพรง นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวานดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว 4 ขา ตอนท้าย 1 ขา มีสาย 3 สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ(กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ “หย่อง” แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างรางด้านบนกับสายจะเข้ จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า “นม” จำนวน 11 นม วางเรียงไปตามแนวยาว เพื่อรองรับการกดจากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดเสียงสูง - ต่ำ เวลาดีดจะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวา ส่วนมือซ้ายใช้กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ

1.2 พิณน้ำเต้า
สันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดียว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ การที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้เปลือกผลน้ำเต้ามาทำ คันพิณเรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา ให้ปลายข้างหนึ่งเรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด สำหรับบิดให้สายตึงหรือหย่อน เพื่อให้เสียงสูงต่ำ สายพิณมีสายเดียวเดิมทำด้วยเส้นหวาย ต่อมาใช้เส้นไหม และใช้ลวดทองเหลืองในปัจจุบัน การดีดพิณน้ำเต้า ปกติผู้ดีดจะไม่สวมเสื้อ ใช้มือซ้ายจับทวน เอากะโหลกพิณประกบติดกับเนื้อที่อกเบื้องซ้าย ใช้มือขวาดีดสาย ขยับกะโหลกปิดเปิดที่ทรวงอก เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามที่ต้องการ ใช้นิ้วมือซ้ายช่วยกดหรือเผยอ เพื่อให้สายตึงหย่อน การดีดจะประสานกับเสียงขับร้องของผู้ดีดเอง

1.3 กระจับปี่
เป็นพิณชนิดหนึ่ง มี 4 สาย กระพุ้งพิณมีลักษณะเป็นกล่องแบน รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมมน ด้านหน้าทำเป็นช่อง ให้เสียงกังวาน ทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลังตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้ สำหรับขึ้นสาย 4 ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็น หรือลวด-ทองเหลือง ตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น “สะพาน” หรือ นม ปักทำด้วยไม้ เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์ สำหรับหมุนสายมี 11 นม บนหน้ากระพุ้งพิณมีชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะรองสายไว้เรียกว่า “หย่อง”ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือน จากการดีดสายลงมาสู่ตัวกระพุ้งพิณ เวลาบรรเลงใช้นิ้วจับไม้ดีดเขี่ยสายเพื่อให้เกิดเสียง ไม้ดีดปักทำด้วยงาช้าง เขาสัตว์ หรือวัสดุที่มีลักษณะแบนและบาง กระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งของอินเดีย มีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนู ตามหลักฐานพบว่า กระจับปี่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

1.4 ซึง
ซึงเป็นดนตรีประเภทเครื่องดีด คล้ายกระจับปี่มี 4 สาย ใช้เส้นลวดขนาดเล็ก 2 สาย ใหญ่ 2 สาย นิยมเล่นกันทางภาคเหนือของไทย นิยมใช้ถือแนบหน้าอกด้วยมือซ้าย และมือขวาถือไม้ดีดซึ่งทำด้วยเขาหรือกระดูกสัตว์ หน้าที่ของซึงก็คือ ใช้บรรเลงเพื่อดำเนินทำนองสอดแทรกไปตามแนวเพลง ใช้บรรเลงร่วมกับปี่และซอ

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

2. เครื่องสี
เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากเครื่องดีด มีสายและกะโหลกเสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องดีด ทำให้เกิดเสียงโดยการใช้คันชักสีที่สาย คันชักมักจะทำด้วยขนหางม้า แต่ปัจจุบันมีราคาแพงจึงใช้สายเอ็นแทน และต้องใช้ยางสนถูคันชักเพื่อให้เกิดเสียงดังเวลาที่สี เช่น
2.1 ซอสามสาย เป็นซอที่จัดว่ามีความงดงามที่สุดในบรรดาซอของไทย นิยมใช้บรรเลงตั้งแต่ สมัยสุโขทัย กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวที่มี 3 ปุ่ม ซอสามสายใช้บรรเลงในวงมโหรี ทำหน้าที่สีคลอเสียงคนร้อง
2.2 ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็น
เครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีสาย 2 สาย กะโหลกของซอเดิมทำด้วยไม้ไผ่ ต่อมาทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ทำหน้าที่เป็นผู้นำหลักของวงเครื่องสาย
2.3 ซออู้ เป็นซอ 2 สายมีเสียงทุ้ม กะโหลกของซออู้ ทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ขึ้นหน้าซอด้วยหนังลูกวัวใช้บรรเลงในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวมและวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
2.4 สะล้อ เป็นซอพื้นเมืองของภาคเหนือ มีสาย 2 – 3 สาย นิยมใช้บรรเลงในการขับลำนำผสมกับซึงและปี่จุ่ม ในการบรรเลงเพลงพื้นเมืองของภาคเหนือ

เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครื่องตีที่ทำด้วยไม้
2. เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ
3. เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง

เครื่องตีที่ทำด้วยไม้

3.1 เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ ได้แก่

3.1.1 ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิงวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันมาเรียงลำดับแล้วจะรูร้อยเชือกเรียนว่า ระนาด ลูกระนาดมี 21 ลูก ไม้ตีระนาดเอกมีอยู่
ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ไม้นวมและไม้แข็ง ระนาดเอกบรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ชนิดต่าง ๆ
3.1.2 ระนาดทุ้ม สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเลียนแบบระนาดเอก ลูกระนาดมีจำนวน 17 - 18 ลูก ตัวลูกมีขนาดกว้างและยาวกว่าของระนาดเอก มีวิธีการบรรเลงแตกต่างไปจากระนาดเอก คือไม่ได้ยึดการบรรเลงคู่ 8 เป็นหลัก ทำหน้าที่สอดประสานหยอกล้อกับระนาดเอก
3.1.3 กรับพวง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ลักษณะเป็นแผ่นบางหลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนาสองชิ้นประกับไว้ ใช้ตีในการบรรเลงมโหรีโบราณ เล่นเพลงเรือ และโขนละคร
3.1.4 กรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีสันมน ผู้ขับเสภาจะขยับกรับสองคู่นี้ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้รบ หรือไม้สี่
3.1.5 โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทดำเนินทำนองของภาคอีสาน มี 12 ลูก

เครื่องดนตรีไทยที่ทำด้วยโลหะ

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ